จอภาพคอมพิวเตอร์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่ามอนิเตอร์ (monitor) มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์ แต่จะแตกต่างจากเทอร์มินัล (terminal) ที่เทอร์นัลจะประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์ แต่เดิมมอนิเตอร์และเทอร์มินัลเรียกกันว่าซีอาร์ที (CRT) จอภาพคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด 14,15,17 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น มอนิเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานกราฟิก และงานวิศวกรรม เป็นต้น
ลักษณะที่สำคัญของจอภาพคอมพิวเตอร์มี 2 ประการ คือ ความละเอียด และจำนวนสีในการแสดงผล ลักษณะความละเอียดของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนจุด บนจอภาพที่เรียกว่า พิกเซล
จอภาพคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามสีของการแสดงผลได้เป็น 2 ประการคือ จอภาพสีเดียว และจอภาพสี
1. จอภาพสีเดียว จะแสดงผลลัพธ์เพียงสีเดียวบนพื้นดำ เช่น สีขาว สีเขียว หรืออาจจะแสดงผลสีดำบนพื้นสีขาว
2. จอภาพสี สามารถแสดงผลที่เป็นข้อความและภาพกราฟิกสีต่างๆ
จอภาพสีเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด จำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
-วีจีเอ ( VGA )
-ซูเปอร์วีจีเอ (super VGA) หรือ SVGA
-เอ็กซ์จีเอ (XGA)
หน้าที่
การ ทำงานของจอคอมพิวเตอร์ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งที่จอคอมพิวเตอร์จะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
ตำแหน่งขา หน้าที่ DESCRIPTION
ขา 1 สัญญานภาพสีแดง RED VIDEO
ขา 3 สัญญานภาพสีน้ำเงิน BLUE VIDEO
ขา 4 ไม่ได้ต่อใช้งาน NO CONNECT
ขา 5 ไม่ได้ต่อใช้งาน NO CONNECT
ขา 6 กราวด์สัญญาณสีแดง RED GROUND
ขา 7 กราวด์สัญญาณสีเขียว GREEN GROUND
ขา 8 กราวด์สัญญาณสีเขียว BLUE GROUND
ขา 9 ไม่ได้ต่อใช้งาน NO CONNECT
ขา 10 กราวด์สัญญาณซิงค์ SYNC GROUND
ขา 11 กราวด์ GROUND
ขา 12 สัญญาณข้อมูลดิจิตอล SERIAL DATA (SDA)
ขา 13 สัญญาณฮอร์ซิงค์ HOR SYNC
ขา 14 สัญญาณเวอร์ซิงค์ VER SYNC
ขา 15 สัญญาณนาฬิกาดิจิตอล SERIAL CLOCK SCL
ประเภทของ Monitor
จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)
เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง
จอภาพแบบแบน LCD (Liquid Crystal Display)
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่
Active matrix
จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
Passive matrix
จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า DSTN (Double Super Twisted Nematic)
จอ LCD เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ LCD จึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพ LCD จึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก
จอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)
เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย ผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น
ข้อมูลจาก http://graphics.sci.ubu.ac.th/wiki/index.php/Computer_Monitor
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)